ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความแนะนำ

เที่ยวพม่าเมืองพญาตองซู ในราคาหลักร้อย ที่สังขละบุรี

นักท่องเที่ยวสามารถทำใบผ่านแดนเข้าไปในพม่าได้ภายใน 1 วัน เพื่อเข้าไปชมเมืองพญาตองซูในประเทศพม่า ที่ห่างจากบริเวณด่านไปเพียง 3 กิโลเมตร สำหรับราคาแพ็คเก็จทัวร์นั้น 200-400 บาท แล้วแต่บริษัททัวร์ สังเกตุซุ้มทัวร์ต่าง ๆ ที่อยู่บริเวณลานจอดรถ ซื้อตั๋วครั้งเดียว เที่ยวได้จนครบโปรแกรม วัดเสาร้อยต้น สร้างเป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี 3 ชั้น ชั้นบนสุดห้ามผู้หญิงขึ้นไป วัดนี้หลวงพ่ออุตตมะเคยสร้างไว้ และเคยจำพรรษาที่นี่ เป็นวัดที่ใช้เสาทั้งต้น จากไม้แดง จำนวนมากถึง 105 ต้น สามารถเข้าไปสักการะพระประธานได้ บริเวณด้านหลังวัด เราจะเจอกับกำแพงพระยืน เป็นพระพุทธรูปประทับบนดอกบัว พร้อมพระอรหันต์จำนวน 120 รูป ยืนเป็นแนวทอดยาวไปยังภูเขา มีความตั้งใจจากท่านเจ้าอาวาสว่าจะสร้างให้ถึง 500 รูปทีเดียว วัดเจดีย์ทอง หรือวัดทองคำ ตั้งอยู่บนเนินเขา ไม่ห่างจากวัดเสาร้อยต้น สามารถขับรถขึ้นไปถึงบริเวณเจดีย์ได้ องค์เจดีย์มีขนาดไม่ใหญ่มาก สีทองอร่าม ฐานทรงเหลี่ยม ด้านบนทรงระฆัง รูปทรงคล้ายกับเจดีย์ชเวดากอง รอบองค์เจดีย์มีซุ้มประดิษฐานพระพม่า จุดนี้เป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นเมืองพญาตองซู และฝั่งไทย พระพุทธไสยาสน์เจ

5 ภารกิจ ปลุกความสร้างสรรค์ในตัวคุณ

ในมิติของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ที่ต้องใช้ความร่วมมือทั้ง นักท่องเที่ยว และชุมชนท่องเที่ยว เราจึงสามารถแบ่งออกเป็น 5 ภารกิจ เพื่อปลุกความสร้างสรรค์ทางด้านการท่องเที่ยวในตัวคุณดังต่อไปนี้

ภารกิจที่ 1 ตามล่าหาวิธีคิด ต้นกำเนิดผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น

เวลาไปเที่ยว เราคงเคยสงสัยว่า ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นหน้าตาแปลก ๆ เค้าทำมาจากอะไร ทำที่ไหน อย่างไร ดังนั้น !!! เพื่อไขข้อข้องใจ ภารกิจแรกเราจึงควรเข้าไปศึกษาวิธีการทำจากแหล่งที่มาของแต่ละท้องถิ่นกันอย่างถึงที่ถึงถิ่น ทดลองทำด้วยตนเองได้ยิ่งดี ยกตัวเช่นที่เมืองสังขละบุรี ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ขึ้นชื่อคือ ผ้าทอมือกะเหรี่ยง, พริกกะเหรี่ยงไล่โว่, ร่วมทำขนมทองโย๊ะ, กรรมวิธีผลิตไม้กวาดดอกหญ้าบ้านห้วยกบและบ้านซองกาเลีย, ผลิตภัณฑ์จากผลมะเม่า เป็นต้น

ภารกิจที่ 2 แฝงตัวปะปน ดั่งคนชุมชนท้องถิ่น

ภารกิจนี้ฟังแล้วอาจดูแปลกไปสักนิด แต่นั่นหมายถึงการใช้ชีวิตเลียนแบบคนในชุมชนแหล่งท่องเที่ยว การได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นการเปิดมุมมอง เพิ่มประสบการณ์ชีวิตให้กับตนเอง สร้างความสุข สนุกสนาน ความบันเทิงใจ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ ๆ ให้กับตนเอง 

ภารกิจที่ 3 ไม่ทำลายสิ่งที่มีอยู่เดิม เพิ่มเติมคืออนุรักษ์

คือการสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ด้วยการปลูกฝังให้นักท่องเที่ยวเห็นคุณค่า และสามารถมีกิจกรรมร่วมกันโดยสอดคล้องกับวัฒนธรรมเดิมของสถานที่ท่องเที่ยวนั้น ๆ เป็นแนวทางอนุรักษ์วัฒนธรรมด้วยความร่วมมือกันระหว่างคนในชุมชน และนักท่องเที่ยว

ภารกิจที่ 4 แลกเปลี่ยนประสบการณ์ชีวิต กับมิตรสหายในชุมชน

คือมิตรภาพที่เกิดขึ้นระหว่างคนในชุมชนกับนักท่องเที่ยวต่างแดน โดยภารกิจนี้ต้องอาศัยพื้นฐานของความเมตตา และความเอื้อเฟื้อแก่กัน ดังนั้นการพัฒนาทางด้านของแนวคิดและวิถีชุมชนจึงเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ภารกิจข้อนี้สมบูรณ์แบบ

ภารกิจที่ 5 สร้างสรรค์แนวคิดพัฒนา เพิ่มคุณค่าให้แหล่งท่องเที่ยว

คือการที่คนในชุมชนเปิดใจให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ภายในชุมชน อย่างน้อยคือการรับฟัง และนำมาปรับ หรือประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม แต่การแก้ปัญหาดังกล่าว ต้องไม่กระทบต่ออารยธรรมเก่าแก่ของชุมชน หรือการทดแทนวิธีชีวิตเดิมโดยสิ้นเชิง




เพจเฟสบุ๊ค << สังขละบุรี 2559 >>

ความคิดเห็น

คนชอบอ่านสิ่งนี้