ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความแนะนำ

เที่ยวพม่าเมืองพญาตองซู ในราคาหลักร้อย ที่สังขละบุรี

นักท่องเที่ยวสามารถทำใบผ่านแดนเข้าไปในพม่าได้ภายใน 1 วัน เพื่อเข้าไปชมเมืองพญาตองซูในประเทศพม่า ที่ห่างจากบริเวณด่านไปเพียง 3 กิโลเมตร สำหรับราคาแพ็คเก็จทัวร์นั้น 200-400 บาท แล้วแต่บริษัททัวร์ สังเกตุซุ้มทัวร์ต่าง ๆ ที่อยู่บริเวณลานจอดรถ ซื้อตั๋วครั้งเดียว เที่ยวได้จนครบโปรแกรม วัดเสาร้อยต้น สร้างเป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี 3 ชั้น ชั้นบนสุดห้ามผู้หญิงขึ้นไป วัดนี้หลวงพ่ออุตตมะเคยสร้างไว้ และเคยจำพรรษาที่นี่ เป็นวัดที่ใช้เสาทั้งต้น จากไม้แดง จำนวนมากถึง 105 ต้น สามารถเข้าไปสักการะพระประธานได้ บริเวณด้านหลังวัด เราจะเจอกับกำแพงพระยืน เป็นพระพุทธรูปประทับบนดอกบัว พร้อมพระอรหันต์จำนวน 120 รูป ยืนเป็นแนวทอดยาวไปยังภูเขา มีความตั้งใจจากท่านเจ้าอาวาสว่าจะสร้างให้ถึง 500 รูปทีเดียว วัดเจดีย์ทอง หรือวัดทองคำ ตั้งอยู่บนเนินเขา ไม่ห่างจากวัดเสาร้อยต้น สามารถขับรถขึ้นไปถึงบริเวณเจดีย์ได้ องค์เจดีย์มีขนาดไม่ใหญ่มาก สีทองอร่าม ฐานทรงเหลี่ยม ด้านบนทรงระฆัง รูปทรงคล้ายกับเจดีย์ชเวดากอง รอบองค์เจดีย์มีซุ้มประดิษฐานพระพม่า จุดนี้เป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นเมืองพญาตองซู และฝั่งไทย พระพุทธไสยาสน์เจ

กิจกรรมที่ 4 เรียนรู้วิถีชีวิตชาวมอญ ชุมชนอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยรามัญ

เมื่อทราบประวัติความเป็นมาแล้ว เราก็มาลองสัมผัสวิถีชาวมอญกันดูบ้าง ที่ชุมชนแห่งนี้เต็มเปี่ยมไปด้วยมิตรไมตรี ชาวมอญจะมีวัฒนธรรมที่อ่อนโยน และให้ความสำคัญกับพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ดังนั้น การปฏิบัติตัวต่อพระสงฆ์จึงมีความแต่ต่างจากฆราวาสชาวไทยพอสมควร เช่น การนั่งพับเพียบต่อหน้าพระสงฆ์ หรือการยกให้พระพุทธรูป และพระสงฆ์ เป็นสิ่งบูชาสูงสุด รองลงมาก็คือบิดามารดาผู้เฒ่าผู้แก่ ชาวมอญส่วนใหญ่จะติดตามมาพึ่งใบบุญหลวงพ่ออุตตมะตั้งแต่อดีต พื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้านมอญ จึงเป็นของวัดวังก์วิเวการาม ซึงสิ่งเหล่านี้คือกลิ่นอายแห่งวัฒนธรรมไทยรามัญที่คงเสน่ห์จนถึงปัจจุบันนี้

กิจวัตรและวิถีชีวิตประจำวันของชาวมอญมีอะไรน่าสนใจ >>> ตามไปดู !!!


1. ร่วมใส่บาตรเช้ากับชาวมอญ
เดิมทีผู้เฒ่าผู้แก่ที่จะตื่นแต่เช้า นำขันใส่ข้าวสวยมานั่งรอบนพื้นถนนเป็นแถว เพื่อรอพระมาบิณฑบาตร ชาวบ้านมักจะใส่บาตรด้วยข้าวสวย และดอกไม้ และกราบพระลงกับพื้นถนน ซึ่งเป็นภาพที่น่าประทับใจในอดีต หากแต่ในปัจจุบัน นักท่องเที่ยวแห่กันไปเป็นจำนวนมาก จึงมีการจัดระเบียบที่ตั้งวางรอใส่บาตร และจำหน่ายชุดใส่บาตรกันเป็นธุรกิจประจำท้องถิ่น ซึ่งจะวุ่นวายมาก ๆ ในช่วงเช้าโดยเฉพาะวันหยุด ภาพอันสวยงามของวัฒนธรรมเก่าแก่จึงเลือนหายไป หากนักท่องเที่ยวต้องการใส่บาตรช่วงเช้า ก็สามารถทำได้ที่ฝั่งเทศบาลตำบลวังกะ (ฝั่งไทย) บริเวณวัดศรีสุวรรณใหม่ แถว ๆ ซอยวัดศรีสุวรรณ หรือถ้าอยากใส่ฝั่งมอญ แนะนำให้ถือชุดใส่บาตรเดินขึ้นไปด้านบนสักหน่อย เพื่อลดความแออัด เพราะพระท่านเดินบิณฑบาตลงมาจากวัดวังก์วิเวการาม




2. วัฒนธรรมการเทินของบนหัว
สืบเนื่องมาจากการที่ชาวมอญมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก และพระสงฆ์หรือพระพุทธรูปสำหรับชาวมอญนั้น ถือเป็นสิ่งที่บริสุทธิ์ และจัดไว้สูงสุดแห่งการเคารพบูชา รองลงมาคือผู้เฒ่าผู้แก่ พ่อแม่ของตน เวลาที่จะนำของไปถวายพระ หรือไปเลี้ยงพ่อแม่ที่ถือศีลอยู่ในวัด ก็จะนำเทินขึ้นหัว เพื่อเป็นสัญลักษณ์บอกถึงสิ่งสักการะนี้ยกไว้เหนือเศียรเกล้า



3. ร่วมถวายภัตตาหารเพลที่วัดวังก์วิเวการาม
ธรรมเนียมของชุมชนชาวมอญคือการผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพถวายภัตตาหารเพลพระสงฆ์ โดยจะเวียนกันไปเป็นหมู่ เช่น หมู่ 1 หมู่ 2 หมู่ 3 การกำหนดหมู่รับผิดชอบจัดสำหรับอาหารก็จะใช้ไม้แถบเป็นสัญลักษณ์ ลักษณะคล้าย ๆ กับไม้ที่ท่านเปาโยนเวลาตัดสินคดี ประมาณนั้น ยกเว้นในวันพระใหญ่ ที่ชาวมอญจะแห่แหนกันมาเต็มศาลาการเปรียญ (ดังภาพ) การถวายพระเพลนี้ เราสามารถจัดสำรับอาหารไปร่วมถวายพระเพลได้ที่ศาลาการเปรียญวัดวังก์วิเวการาม สอบถามจากชาวบ้านมอญได้เลยครับ



4. เรียนรู้การร้อยลูกประคำเกษรดอกไม้กับชาวบ้านที่วัดวังก์วิเวการาม
ชาวบ้านมอญจะช่วยกันร้อยลูกประคำที่ทำจากดอกไม้บูชาพระของชุมชน มีความเชื่อดั้งเดิมว่า ดอกไม้บูชาพระเป็นของสูง ไม่ควรทิ้งลงถังขยะที่เป็นสิ่งปฏิกูล ครั้นจะนำไปลอยน้ำก็จะทำให้น้ำเน่าเสีย ชาวบ้านจึงนำมาผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ เพื่อทำเป็นลูกประคำ และทาด้วยยางไม้ ก่อนจะนำมาร้อยเป็นเส้นให้คนนำไปบูชา ส่วนกรรมวิธีที่ทำอย่างไรนั้น ต้องตามไปดูกันที่วัดวังก์วิเวการามนะครับ



5. หิ้งพระชาวมอญ
หลายคนอาจสังเกตุเห็นกล่องที่ติดข้างฝาบ้านของชาวมอญ ว่าคืออะไร ทำไมถึงต่อเติมให้ยื่นออกนอกตัวบ้าน สิ่งนั้นคือหิ้งพระ หรือโต๊ะหมู่บูชาก็ตามที ที่คนมอญจะยกให้สูงจากพื้น และต่อเติมให้ยื่นออกจากตัวบ้าน เพราะป้องกันจากเด็ก ๆ ในบ้านที่วิ่งเล่นกัน และเป็นความเชื่อว่า "พระอยู่คนละชั้นกับมนุษย์" จึงควรตั้งอยู่คนละพื้นที่กัน สำหรับที่พักอาศัยของชุมชนมอญนั้น จะเป็นที่ดินของวัดวังก์วิเวการามเสียส่วนใหญ่ สืบเนื่องจากเมื่อครั้งที่ชาวบ้านมอญย้ายถิ่นฐานมาพึ่งใบบุญหลวงพ่ออุตตมะในอดีต นั่นเอง



6. เรียนรู้การทำขนมจีนน้ำยาหยวกกล้วย
ถ้าจะเป็นเรื่องน้ำยาหยวกกล้วยที่เก่าแก่ขึ้นชื่อก็ "ร้านป้าหยิน" เชิงสะพานไม้ฝั่งมอญ เพราะเป็นร้านเก่าแก่ และอร่อยขึ้นชื่อ ป้าหยินบอกว่า ถ้าจะให้อร่อย ต้องทานกับน้ำมะขามเปียกต้ม และพริกกะเหรี่ยงป่น เหยาะน้ำปลาสักหน่อย อร่อยเลย ส่วนกรรมวิธีการทำป้าแกก็ไม่ได้หวงอะไร ถ้ามีเวลาอยากไปช่วยแกก็ไม่หวงสูตรอะไรนะครับ ป้าแกยินดีต้อนรับเสมอ

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายบ้าน ที่มีสูตรทำอาหารเด็ด ๆ มากมาย ผู้เขียนเคยไปนั่งน้ำลายหกเวลาที่คนมอญเตรียมอาหารมาถวายพระเพล น่ารับประทานมาก ๆ และที่สำคัญ ทุกคนมีนำใจอัธยาศัยดี ชวนเราทานด้วย ถือเป็นมิตรน้ำใจไม่ตรีที่ดีทีเดียวครับ สำหรับชุมชนมอญ




7. แม่ชีชาวมอญเดินขอรับบริจาค
โดยสวมผ้าคลุมแบบชาวมอญ เป็นผ้าคลุมสีชมพูคลุมทับผ้าชั้นในออกสีส้มเหมือนสีจีวรพระ มีสไบพาดสีเดียวกับผ้าชั้นใน ถือร่มไม้และขันรับบริจาค



8. เด็กมอญกระโดดน้ำ
ในหน้าร้อน บริเวณสะพานมอญ เหมือนเป็นสวนน้ำสำหรับเด็กๆ จะมีเด็ก มาเล่นน้ำใสๆ ในแม่น้ำซองกาเลีย และหากระดับน้ำสูงพอประมาณ เราจะเห็นเด็กกระโดดน้ำจากสะพานมอญ จนกลายเป็นโชว์ไฮไลท์กันเลยก็ว่าได้

ความคิดเห็น

คนชอบอ่านสิ่งนี้