ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความแนะนำ

เที่ยวพม่าเมืองพญาตองซู ในราคาหลักร้อย ที่สังขละบุรี

นักท่องเที่ยวสามารถทำใบผ่านแดนเข้าไปในพม่าได้ภายใน 1 วัน เพื่อเข้าไปชมเมืองพญาตองซูในประเทศพม่า ที่ห่างจากบริเวณด่านไปเพียง 3 กิโลเมตร สำหรับราคาแพ็คเก็จทัวร์นั้น 200-400 บาท แล้วแต่บริษัททัวร์ สังเกตุซุ้มทัวร์ต่าง ๆ ที่อยู่บริเวณลานจอดรถ ซื้อตั๋วครั้งเดียว เที่ยวได้จนครบโปรแกรม วัดเสาร้อยต้น สร้างเป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี 3 ชั้น ชั้นบนสุดห้ามผู้หญิงขึ้นไป วัดนี้หลวงพ่ออุตตมะเคยสร้างไว้ และเคยจำพรรษาที่นี่ เป็นวัดที่ใช้เสาทั้งต้น จากไม้แดง จำนวนมากถึง 105 ต้น สามารถเข้าไปสักการะพระประธานได้ บริเวณด้านหลังวัด เราจะเจอกับกำแพงพระยืน เป็นพระพุทธรูปประทับบนดอกบัว พร้อมพระอรหันต์จำนวน 120 รูป ยืนเป็นแนวทอดยาวไปยังภูเขา มีความตั้งใจจากท่านเจ้าอาวาสว่าจะสร้างให้ถึง 500 รูปทีเดียว วัดเจดีย์ทอง หรือวัดทองคำ ตั้งอยู่บนเนินเขา ไม่ห่างจากวัดเสาร้อยต้น สามารถขับรถขึ้นไปถึงบริเวณเจดีย์ได้ องค์เจดีย์มีขนาดไม่ใหญ่มาก สีทองอร่าม ฐานทรงเหลี่ยม ด้านบนทรงระฆัง รูปทรงคล้ายกับเจดีย์ชเวดากอง รอบองค์เจดีย์มีซุ้มประดิษฐานพระพม่า จุดนี้เป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นเมืองพญาตองซู และฝั่งไทย พระพุทธไสยาสน์เจ

สะพานมอญ ตำนานความผูกพันของชีวิตกับลุ่มน้ำ ณ เมืองสังขละบุรี

สะพานมอญ
มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สะพานอุตตมานุสรณ์​ เป็นสะพานไม้ข้ามแม่น้ำซองกาเลียไปยังหมู่บ้านมอญ ถือเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย และเป็นอันดับสองของโลกรองจากสะพานไม้อูเบ็งในพม่า และเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอสังขละบุรี เป็นสะพานแห่งศรัทธา ที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของชุมชนที่อาศัยอยู่ในสังขละบุรี


ขอบคุณเจ้าของภาพด้วยนะครับ ผู้เขียนจำที่มาไม่ได้ แต่ ณ เวลาที่ทำงานวิจัย ได้ทำการขออนุญาตนำภาพมาเล่าเรื่องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว น่าจะเป็นเพจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเมืองกาญจน์ ต้องขออภัยจริง ๆ ครับเพราะว่าพอย้ายโดเมนหลัง ไซต์อัพเดทแล้ว ลิงค์ต่าง ๆ ก็หายไปตามกัน

สำหรับสะพานมอญแห่งนี้ ก่อนที่จะมีการสร้างสะพานมอญ ชาวบ้านทั้งสองฝั่งแม่น้ำซองกาเลีย ใช้สะพานที่เรียกว่า "สะพานบาทเดียว" โดยใช้ไม้ไผ่ต่อเป็นแพ แล้วมีคนคอยลากให้มาเชื่อมต่อกันไปมา โดยเก็บเงินข้ามฟากครั้งละ 1 บาท ต่อมาหลวงพ่ออุตตมะได้ริเริ่มสร้างสะพานไม้นี้ขึ้น เพื่อให้ชาวบ้านเดินทางข้ามแม่น้ำได้สะดวกโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย วิธีการสร้าง และขั้นตอนการสร้าง ไม่ได้ใช้เครื่องจักรใดๆ ใช้เพียงอุปกรณ์พื้นบ้าน และแรงงานชาวบ้านที่ศรัทธาต่อหลวงพ่อสมัครใจมาช่วยกันลำเลียงวัสดุ ผูกยึด ตอไม้ เสา และกระดานไม้ สะพานไม้ถูกสร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2529 - 2530 มีความยาวทั้งสิ้น 850 เมตร ข้ามแม่น้ำซองกาเลียระยะทางประมาณ 455 เมตร
วัสดุทั้งหมดล้วนทำด้วยไม้ ส่วนใหญ่จะใช้ไม้เนื้อแข็ง พวกไม้แดง เพราะมีความทนทาน ไม้ที่ได้ ส่วนหนึ่งนำมาจากต้นไม้ที่ยืนต้นจมอยู่เหนือเขื่อน ราวสะพาน และพื้นสะพาน ใช้ไม้กระดานที่ตัดเป็นท่อนๆ ขนาดหน้ากว้างไม่มาก นำมาต่อกัน ตัวสะพานใช้เสา 60 ต้น ตรงช่วงกลาง เสาห่าง 10 ศอก เพื่อให้เรือสัญจรไปมาได้ สะพานที่สร้างเสร็จเชื่อมต่อหมู่ 2 กับหมู่ 3 ของตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี สะพานไม้นี้จึงมีความหมายกับคนมอญเป็นอย่างมาก เพราะไม่ใช่แค่สะพานเชื่อมหมู่บ้านสองฝั่งแม่น้ำ แต่เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงพลังศรัทธาที่มีต่อหลวงพ่ออุตตมะ เป็นสะพานมิตรภาพ ความสมานฉันท์ของผู้คนที่อยู่ร่วมกันทั้งชาวไทยและชาวมอญในสังขละบุรี สะพานมอญได้รับการซ่อมแซมดูแลเพื่อให้มีความปลอดภัยตลอดมา ครั้งล่าสุดได้รับการซ่อมแซมเป็นครั้งที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2554 และได้ติดเสาไฟรูปหงส์เพิ่มเติม ซึ่งหงส์ถือเป็นสัญลักษณ์ของมอญ เหมือนกับรูปหงส์สีทองที่อยู่ในธงประจำชาติมอญ
เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เกิดมีมรสุมทำให้ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันในพื้นที่อำเภอสังขละบุรี จนเกิดน้ำป่าไหลหลากมาจากทุ่งใหญ่นเรศวร พัดขยะและเศษไม้ลงสู่แม่น้ำซองกาเลีย ไหลมาตามลำน้ำ แล้วปะทะกับเข้ากับสะพานมอญ จนทำให้สะพานพังไปประมาณ 30 - 70 เมตร พระมหาสุชาติ สิริปัญโญ เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม ได้ดูแลให้ชาวบ้านหาไม้ไผ่มาคนละลำ ด้วยคำว่า "หนึ่งคน หนึ่งลำ" เพื่อให้มาช่วยกันทำแพลูกบวบ ซึ่งเป็นแพที่นำลำไม้ไผ่มามัดต่อกันเป็นแพบนบนผิวน้ำ ใช้เป็นสะพานชั่วคราวแทนสะพานที่กำลังซ่อม ซึ่งการซ่อมแซมสะพานมอญนี้ก็จะคงสภาพความเป็นสะพานไม้ไว้เหมือนเดิม และใช้วิธีการตามวิถีชาวบ้าน ไม่ได้ใช้เครื่องจักรใดๆ เพื่อรักษาคุณค่าของสะพานไม้ไว้ต่อไป
แพลูกบวบที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเส้นทางชั่วคราว มีความกว้าง 6 เมตร มีความยาวประมาณ 300 เมตร ตามความกว้างของลำน้ำ ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้าน แพนี้สร้างขึ้นโดยใช้เวลาเพียง 6 วัน และกลายเป็นจุดดึงดูดใจนักท่องเที่ยวเป็นอันมาก เพราะทำให้หลายคนรู้สึกเหมือนได้เดินบนผิวน้ำแม่น้ำซองกาเลีย บริเวณตอนกลางของแพลูกบวบจะทำเป็นสะพานไม้ยกสูงเพื่อให้เรือลอดผ่านไปได้ ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่เรียบง่าย และยังคงความเป็นบรรยากาศแบบธรรมชาติไว้ด้วยสะพานมอญ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สะพานอุตตมานุสรณ์ เป็นสะพานไม้ข้ามแม่น้ำซองกาเลียไปยังหมู่บ้านมอญ ถือเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย และเป็นอันดับสองของโลกรองจากสะพานไม้อูเบ็งในพม่า และเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอสังขละบุรี เป็นสะพานแห่งศรัทธา ที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของชุมชนที่อาศัยอยู่ในสังขละบุรี ทุกปีจะมีนักท่องเที่ยวมาสัมผัสธรรมชาติ พร้อมๆ กับการได้เห็นวิถีชีวิตชุมชนชาวมอญในแถบนี้ สิ่งที่ห้ามพลาดอีกอย่างหนึ่งก็คือการได้ถ่ายรูปเป็นที่ระลึก กับสะพานที่เสมือนเป็นสายใยวัฒนธรรมของชาวมอญและไทยในดินแดนสุดขอบประเทศแห่งนี้

การเที่ยวชมสะพานมอญ ควรแวะเดินชมตั้งแต่เช้า โดยเฉพาะช่วงเวลา 6.00 - 7.00 น. เป็นช่วงที่ได้เห็นวิถีชีวิตชาวมอญ ใส่บาตรพระทุกเช้า หากนักท่องเที่ยวต้องการใส่บาตร ก็มีอาหารขายบริเวณหมู่บ้านมอญ สายๆ หากเดินข้ามฝั่งไปยังหมู่บ้านมอญ ก็สามารถเที่ยวชมบ้านเรือนในแบบชาวมอญ ซื้อของที่ระลึก หรือจะแวะชิมขนมจีนน้ำยาหยวกกล้วย ที่เป็นอาหารพื้นบ้านชาวมอญก็ได้ วิถีชีวิตชาวมอญที่พบเห็นได้บริเวณสะพานมอญ และหมู่บ้านมอญเมื่อความเจริญค่อยๆ คืบคลานเข้าสู่หมู่บ้านมอญ การเดินทางมีความสะดวกสบายขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น มีธุรกิจใหม่ๆ เข้ามาในสังคม ทำให้วิถีชีวิตชาวมอญเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งแวดล้อมใหม่ที่แทรกซึมเข้ามาสู่ชุมชน แต่ก็ยังได้เห็นกลิ่นไอความเป็นมอญบางอย่างหลงเหลืออยู่บ้าง แต่ละครอบครัวในหมู่บ้านมอญ ส่วนใหญ่คนหนุ่มสาว จะเข้าไปรับจ้างทำงานในตัวเมือง เราจึงมักเห็นการดำเนินชีวิตประจำวันแบบมอญของเด็กๆ และผู้สูงวัย มากกว่าวัยรุ่น
นักท่องเที่ยวที่มาสังขละบุรีจึงอาจจะได้เห็นลักษณะความเป็นมอญบางอย่างที่หลงเหลืองอยู่
- กิจวัตรประจำวันของชาวมอญที่นักท่องเที่ยวสนใจกันเป็นอย่างมาก คือการใส่บาตรในช่วงเช้า โดยเฉพาะผู้เฒ่าผู้แก่ที่จะตื่นแต่เช้า นำขันใส่ข้าวสวยมานั่งรอบนพื้นถนนเป็นแถว เพื่อรอพระมาบิณฑบาตร ชาวบ้านมักจะใส่บาตรด้วยข้าวสวย และดอกไม้ และกราบพระลงกับพื้นถนน ซึ่งเป็นภาพที่น่าประทับใจสำหรับนักท่องเที่ยว หากใครต้องการใส่บาตร ก็สามารถร่วมใส่บาตรตอนเช้ากับชาวมอญได้ เพราะมีชุดสำหรับใส่บาตรจำหน่ายให้นักท่องเที่ยวด้วย
- จะได้เห็นวัฒนธรรมการเทินของไว้บนหัวของชาวมอญ ซึ่งบางคนยังคงนิยมเทินสิ่งของไว้บนหัว แทนการห้วสัมภาระมากมาย บางคนสามารถเทินของได้สูงๆ หรือหนักมากๆ แล้วยังสามารถเดินได้อย่างคล่องแคล่ว
- ได้เห็นวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวมอญ สังเกตได้จากการแต่งกายโดยทั่วไปแล้ว ผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่น หรือผ้าถุง เสื้อแขนกระบอกสามส่วน มีผ้าแถบยาวเหมือนสไบพาดไว้ที่บ่า ผมรวมมัดเป็นมวยไว้ด้านหลัง ผู้ชายนิยมนุ่งโสร่ง บนใบหน้าของหญิงชายชาวมอญ รวมถึงเด็กๆ นิยมทาแป้งทานาคา ที่มีสีออกเหลืองนวลๆ ฉาบไว้ที่ใบหน้า (แป้งทานาคาทำจากท่อนไม้ต้นทานาคาฝนกับแป้นหินทราย ทาบนหน้าแล้วเกลี่ยด้วยแปรง)
- บางทีจะได้เห็นแม่ชีชาวมอญ เดินขอรับบริจาค โดยสวมผ้าคลุมแบบชาวมอญ เป็นผ้าคลุมสีชมพูคลุมทับผ้าชั้นในออกสีส้มเหมือนสีจีวรพระ มีสไบพาดสีเดียวกับผ้าชั้นใน ถือร่มไม้
- ในหน้าร้อน บริเวณสะพานมอญ เหมือนเป็นสวนน้ำสำหรับเด็กๆ จะมีเด็ก มาเล่นน้ำใสๆ ในแม่น้ำซองกาเลีย และกระโดดน้ำจากสะพานมอญ
- เดิมบ้านของชาวมอญมักปลูกสร้างด้วยไม้กระดาน หรือเป็นไม้ไผ่สานขัดแตะ ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปเป็นสร้างด้วยปูนบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีบางบ้านที่ยังคงสภาพเดิมๆ ไว้ ให้เห็นถึงความเป็นบ้านมอญ ถ้าสังเกตดีๆ บ้านมอญมักจะมีผนังด้านหนึ่ง ทำเป็นเหมือนส่วนเกินยื่นออกมาคล้ายมุขหน้าต่าง นูนเป็นกล่องตรงผนังบ้าน มุขที่ว่านี้ก็คือ ห้องพระ หรือหิ้งพระของบ้าน บางบ้านจะตกแต่งส่วนของมุขนี้ไว้อย่างสวยงาม

ที่มา : https://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/2802









ความคิดเห็น

คนชอบอ่านสิ่งนี้