ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความแนะนำ

เที่ยวพม่าเมืองพญาตองซู ในราคาหลักร้อย ที่สังขละบุรี

นักท่องเที่ยวสามารถทำใบผ่านแดนเข้าไปในพม่าได้ภายใน 1 วัน เพื่อเข้าไปชมเมืองพญาตองซูในประเทศพม่า ที่ห่างจากบริเวณด่านไปเพียง 3 กิโลเมตร สำหรับราคาแพ็คเก็จทัวร์นั้น 200-400 บาท แล้วแต่บริษัททัวร์ สังเกตุซุ้มทัวร์ต่าง ๆ ที่อยู่บริเวณลานจอดรถ ซื้อตั๋วครั้งเดียว เที่ยวได้จนครบโปรแกรม วัดเสาร้อยต้น สร้างเป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี 3 ชั้น ชั้นบนสุดห้ามผู้หญิงขึ้นไป วัดนี้หลวงพ่ออุตตมะเคยสร้างไว้ และเคยจำพรรษาที่นี่ เป็นวัดที่ใช้เสาทั้งต้น จากไม้แดง จำนวนมากถึง 105 ต้น สามารถเข้าไปสักการะพระประธานได้ บริเวณด้านหลังวัด เราจะเจอกับกำแพงพระยืน เป็นพระพุทธรูปประทับบนดอกบัว พร้อมพระอรหันต์จำนวน 120 รูป ยืนเป็นแนวทอดยาวไปยังภูเขา มีความตั้งใจจากท่านเจ้าอาวาสว่าจะสร้างให้ถึง 500 รูปทีเดียว วัดเจดีย์ทอง หรือวัดทองคำ ตั้งอยู่บนเนินเขา ไม่ห่างจากวัดเสาร้อยต้น สามารถขับรถขึ้นไปถึงบริเวณเจดีย์ได้ องค์เจดีย์มีขนาดไม่ใหญ่มาก สีทองอร่าม ฐานทรงเหลี่ยม ด้านบนทรงระฆัง รูปทรงคล้ายกับเจดีย์ชเวดากอง รอบองค์เจดีย์มีซุ้มประดิษฐานพระพม่า จุดนี้เป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นเมืองพญาตองซู และฝั่งไทย พระพุทธไสยาสน์เจ

กิจกรรมที่ 2 รับรู้ประวัติศาสตร์ชนชาติมอญ


ก่อนที่เราจะไปเที่ยวสังขละบุรี เรามาค้นหาคำตอบกันก่อนว่า ชาวมอญ มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างไร เคยตั้งฐิ่นฐานอยู่ที่ใด และเหตุใด ปัจจุบันจึงไม่มีประเทศเป็นของตนเอง สาเหตุที่ชุมชนมอญมาอาศัยอยู่ ณ บริเวณลุ่มน้ำสามประสบนี้ มีความเป็นมาเช่นไร ?



รัฐมอญ
มีพรมแดนด้านตะวันออกติดกับรัฐกะเหรี่ยงและประเทศไทย ด้านเหนือติดเขตปกครองหงสาวดี ด้านใต้ติดเขตปกครองตะนาวศรี ส่วนทางด้านตะวันตกติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเมาะตะมะ ประชาชนส่วนใหญ่ในรัฐนี้คือชาวมอญ ซึ่งเป็นชนชาติที่เก่าแก่ที่สุดชาติหนึ่งในพม่า ชาวมอญทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ พุทธสถานที่สำคัญและมีชื่อเสียงในรัฐนี้ก็คือ พระธาตุอินทร์แขวนหรือพระเจดีย์ไจ้เที่ยว

รัฐมอญ เป็นหนึ่งในรัฐที่ตั้งอยู่ทางใต้ของประเทศสหภาพพม่า รัฐมอญ เป็น sandwiched ระหว่างรัฐกะเหรี่ยงในตะวันออกท้องทะเลอันดามันในทิศตะวันตก พะโค งานในภาคเหนือ และ ตะนาวศรี งานในทางใต้และมีขอบสั้น กับประเทศไทย จังหวัดกาญจนบุรี ที่ปลายตะวันออกเฉียงใต้ของ พื้นที่ เป็น 12.155 km ² รัฐมอญรวมถึงเกาะเล็ก ๆ พร้อม 566 km ของการชายฝั่ง เมืองหลวง คือ Mawlamyaing เดิม Moulmein

สภาพภูมิศาสตร์

รัฐมอญมีตำแหน่งที่ตั้ง ดังนี้

ทิศเหนือ ติดกับ รัฐกะเหรี่ยง

ทิศใต้ ติดกับ เขตตะนาวศรี

ทิศตะวันออก ติดกับ รัฐกะเหรี่ยง และ จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย

ทิศตะวันตก ติดกับ เขตพะโค และ ทะเลอันดามัน

ประชากร

ประชากร 2.4 ล้านคน ความหนาแน่น 505 คน/ตารางไมล์

การปกครอง

พื้นที่ 4,747.8 ตารางไมล์ การปกครอง 2 จังหวัด 10 อำเภอ 450 ตำบล

1. จังหวัดเมาะลำเลิง (เมาะลัมยิน)

2. จังหวัดท่าตอน (สะเทิมหรือตะโทง)

วัฒนธรรม

วัฒนธรรมของพม่าได้รับอิทธิพลทั้งจากจีน อินเดีย และไทยมาช้านาน ดังสะท้อนให้เห็นในด้านภาษา ดนตรี และอาหาร สำหรับศิลปะของพม่านั้นได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีและพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ในปัจจุบันนี้วัฒนธรรมพม่ายังได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากเขตชนบทของประเทศ ด้านการแต่งกาย ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า ลองยี ส่วนการแต่งกายแบบโบราณเรียกว่า ลุนตยาอชิก

ภาษา

นอกจากภาษาพม่า ซึ่งเป็นภาษาทางการแล้ว พม่ามีภาษาหลักที่ใช้งานในประเทศถึงอีก 18 ภาษา[3] โดยแบ่งตามตระกูลภาษาได้ดังนี้

ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ได้แก่ ภาษามอญ ภาษาปะหล่อง ภาษาปลัง (ปะลัง) ภาษาปะรวก (สำเนียงมาตรฐานของภาษาว้า) และภาษาว้า

ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ได้แก่ ภาษาพม่า (ภาษาทางการ) ภาษากะเหรี่ยง ภาษาอารากัน (ยะไข่) ภาษาจิงผ่อ (กะฉิ่น) และ ภาษาอาข่า

ตระกูลภาษาไท-กะได ได้แก่ ภาษาไทใหญ่ (ฉาน) ภาษาไทลื้อ ภาษาไทขึน ภาษาไทคำตี่ มีผู้พูดหนาแน่นในรัฐฉาน และรัฐกะฉิ่นส่วนภาษาไทยถิ่นใต้ ภาษาไทยกลาง และภาษาไทยถิ่นอีสาน มีผู้พูดในเขตตะนาวศรี

ตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน ได้แก่ ภาษาม้งและภาษาเย้า (เมี่ยน)

ตระกูลภาษาออสโตรนีเชียน ได้แก่ ภาษามอเกนและภาษามาเลย์ ในเขตตะนาวศรี

ศาสนา


พม่าบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติใน พ.ศ. 2517 เพราะมีผู้นับถือศาสนาพุทธ 92.3% ศาสนาคริสต์ 2% ศาสนาอิสลาม 4% ศาสนาฮินดู 1.7%

การคมนาคมขนส่ง

การขนส่งทางบก ได้แก่ ทางถนนและทางรถไฟ ทางถนน ถนนในพม่าส่วนใหญ่ขนานไปกับภูเขาและแม่น้ำ ทอดไปตามความยาวของประเทศ เช่นเดียวกับทางรถไฟ ถนนสายต่าง ๆ ที่สำคัญมีดังนี้ ถนนสายพม่า เป็นถนนสายสำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างย่างกุ้งกับเมืองคุนหมิง ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีน มีความยาวในเขตพม่าถึงเมืองหมูแจ้ ประมาณ 1,160 กิโลเมตร และมีความยาวในเขตจีนจากหมูแจ้ถึงคุนหมิง ประมาณ 90 กิโลเมตร ถนนสายนี้ผ่านเมืองต่าง ๆ คือ พะโค-ตองอู-ปินมานา-เมกติลา-มัณฑะเลย์-เมเบียงกอดเต็ก-สีป๊อ-ล่าเสี้ยว-แสนหวี-หมูแจ้ รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 2,140 กิโลเมตร ใช้การทุกฤดูกาล ทางรถไฟ ทางรถไฟของพม่าได้เปิดดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481

การขนส่งทางน้ำ การคมนาคมขนส่งทางน้ำภายในประเทศ นับว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศพม่าเป็นอย่างมาก และยังเป็นเส้นทางคมนาคมหลักมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำอิรวดีมีทางน้ำอยู่มากมาย และเป็นเขตที่มีประชาชนพลเมืองอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด ประกอบกับเส้นทางถนนและทางรถไฟยังมีจำกัด

Ref. >> เว็บไซต์ดูเอเชียดอทคอม. (ม.ป.ป.). รัฐมอญ. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.dooasia.com/myanmar/รัฐมอญ/


ประวัติศาสตร์ชนชาติมอญ 
(อารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศพม่า)

มอญ เป็นชนชาติที่พูดภาษาในตระกูลมอญ-เขมร เมื่อเอ่ยถึงชนชาติ “มอญ” ในประเทศพม่า พม่าจะถือว่า มอญ เป็นชนชาติเก่าแก่ที่สุดในแผ่นดินเมียนมา และแม้ว่า ภาษามอญ นั้นจะแตกต่างกับภาษาพม่าโดยสิ้นเชิงก็ตาม (พม่าพูดภาษาในตระกูลจีน-ทิเบต) แต่พม่ากลับเห็นว่าชนชาติมอญสืบเชื้อสายมาจากมองโกลอยด์เช่นเดียวกับชนชาติพม่า อีกทั้งรูปร่างหน้าตาของชาวมอญกับชาวพม่าแทบจะแยกกันไม่ออก ด้วยชาวมอญกับชาวพม่าได้อยู่ร่วมผสมสายเลือดกันมานับแต่ยุคพุกาม จนปัจจุบันแยกไม่ออกได้ง่ายว่า ใครเป็น มอญ หรือ ใครเป็นพม่า ดังนั้น พม่าจึงสรุปว่าชาวมอญกับชาวพม่าต่างย่อมมีความใกล้ชิดสนิทสนม ด้วยพม่า-มอญ นั้นสืบเชื้อสายและร่วมประวัติศาสตร์กันมายาวนาน

ในทางวิชาการ เคยมีข้อสรุปไว้ว่าชนชาติแรกที่เคยปรากฏอยู่ ในประเทศพม่าคือชนเผ่ากัปปะลี หรือ นิกริโต จากนั้นในราว ๔ พันปีก่อน จึงมีชนชาติมอญอพยพ ลงมา อาศัยเป็นหลักแหล่งในรูปแบบสังคมกสิกรรม และเรียกแผ่นดินแรกของ มอญ นี้ว่า รามัญเทสะ ส่วนชนเผ่ากัปปะลีนั้น ก็เคลื่อนย้ายไปอาศัยอยู่ตามเกาะภีลู หรือ บะลูและเกาะกัปปะลี และเชื่อว่าชนเผ่านี้น่าจะเป็นบรรพบุรุษของชนเผ่าซมีง หรือ เซมังในปัจจุบัน เกาะบะลูนั้นเป็นเกาะใหญ่ตั้งอยู่ตรงข้ามกับเมืองเมาะลำไย ชาวมอญเรียกว่า ตะเก๊าะขมาย คำว่า ตะเก๊าะ แปลว่า “เกาะ” ส่วนคำว่า ขมาย นั้นสันนิษฐานตามตำนานพื้นเมืองว่าอาจจะเป็นที่มาของชื่อเผ่าซมีง (ตามตำนานขมายเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง มีอมนุษย์เกิดจากนกเหยี่ยวคู่หนึ่ง ที่อาศัยอยู่บนต้นขมายนั้น) และเชื่อว่าชนเผ่านี้ก็คงจะเคยอาศัยบนเกาะบะลูมาก่อน โดยอยู่อย่างคนเปลือย แต่ด้วยหน้าตาน่ากลัว มีริมฝีปากหนา ผมหยิก ผิวดำ มีนิสัยกระด้าง แถมว่ายน้ำเก่ง จึงถูกมองว่าเป็นพวกยักษ์ แล้วเรียกเกาะที่พวกนี้อาศัยอยู่ว่า เกาะยักขะ ซึ่งสอดคล้องกับการที่พม่า ก็เรียกเกาะนี้ว่า เกาะบะลู เพราะ บะลู ก็แปลว่า “ยักษ์” เช่นกัน

ในทางภาษาศาสตร์ เคยมีการวิจัยพบว่าภาษาชาวซมีง มีคำศัพท์ร่วมกับคำศัพท์ของภาษามอญโบราณ จึงพอจะบอกได้ว่าชาวมอญเคยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด กับชาวซมีงมาก่อน นอกจากนี้ในพงศาวดารมอญ ก็กล่าวไว้ว่าเมื่อปี ๒๕๐ ก่อนคริสต์ศักราช พระโสณะเถระ และพระอุตตระเถระ ได้เดินทางมาประกาศพระศาสนา ณ ดินแดนสะเทิม-สุวรรณภูมิ แล้วสวดพระปริตรเพื่อขับไล่เหล่ายักษ์น้ำ หรือผีเสื้อสมุทรมิให้มาเป็นอันตรายแก่ชาวมอญ จึงสันนิษฐานว่าพวกยักษ์ ในตำนานภาษามอญนั้นน่าจะหมายถึงชนเผ่าซมีงนั่นเอง

ส่วนชาวมอญจะมาจากไหนนั้น ยังคงตอบให้ชัดได้ยาก บ้างก็มีความเห็นว่าน่าจะอพยพมาจากมองโกเลีย บ้างเชื่อว่ามอญมีถิ่นกำเนิดจาก ที่ราบโตนกีงทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน และก่อนที่ มอญ จะมาอาศัยอยู่ที่เมืองสะเทิมในประเทศพม่านั้น ก็เคยตั้งอาณาจักรทวารวดี ในพื้นที่ตอนล่างของประเทศไทย ดังปรากฏเป็นหลักฐานเป็น จารึกมอญ ที่นครปฐม หรือ ประปโทม และที่ลพบุรี จารึกนั้นเก่าแก่กว่าจารึกภาษามอญ ที่สะเทิมและพุกามถึง ราว ๕๐๐ ปี ต่อมา ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐ อาณาจักรทวารวดีของ มอญ ก็ถูกพวกเขมรหรือขมาโจมตีจนต้องย้ายขึ้นเหนือไปตั้งเมืองหริภุญไชย ซึ่งปัจจุบันคือลำพูน จากนั้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ ๑๒–๑๓ ชาวไทยก็อพยพจากตอนบนลงมาตีอีก ทวารวดีจึงถึงกาลล่มสลาย

ส่วนนาม รามัญ พบเก่าสุดในมหาวังสะของสิงหล ในสมัยพระเจ้าจันสิตตาแห่งพุกาม พบคำนี้ในศิลาจารึกมอญ เขียนออกเสียงว่า รมีง ซึ่งในจารึกนั้น ก็พบคำเรียกพม่าอ่านว่า มิรมา อีกด้วย ส่วนในสมัยหงสาวดี พบจารึกแผ่นทอง เขียนอ่านว่า รมัน คล้ายกับที่ไทยเรียก รามัญ ส่วนในเขตรามัญเทสะ จะเรียกว่า มัน หรือ มูน ซึ่งใกล้กับคำว่า มอญ ในภาษาไทย

อันที่จริง พม่าเคยนิยมเรียก มอญ ว่า ตะลาย หรือ ตะเลง คำเรียกนี้ พบในศิลาจารึกพุกาม และบางจารึกที่น่าจะจารึกในต้นสมัยอังวะ อีกทั้งในพงศาวดารมอญ กล่าวถึงเจ้าชายจากเมืองกาลิงคะ ติลิงคนะแห่งมัชฌิมเทสะเสด็จมายังสะเทิม-สุวรรณภูมิเพื่อปกครองชาวมอญ โดยมีท้าวสักกะอุปถัมภ์ เป็นไปได้ว่าชาวติลิงคนะคงจะเดินทาง มาสู่รามัญเทสะอยู่เรื่อยๆ จึงเรียกเหมาชาวมอญว่า เป็นชาวติลิงคนะไปด้วย จนที่สุดก็เพี้ยนมาเป็น ตะลายในภายหลัง แต่เนื่องจากคำว่า ตะลาย นั้น ชาวมอญเห็นว่าเป็นคำดูหมิ่น มีความหมายไปในทาง “พันธุ์ทางไร้พ่อ” ชาวมอญจึงไม่อยากให้ใช้ชื่อนี้มาเรียกชาวมอญอีกต่อไป ซึ่งรัฐบาลพม่า ก็ได้เคยประกาศห้ามใช้ชื่อ ตะลาย เรียกชาวมอญ และกำหนดให้เรียกว่า มูน หรือ มอญ เท่านั้น

เรื่องราวของมอญ ยังมีกล่าวในศิลาจารึกเจดีย์ชเวดากองไว้ว่า คราที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ได้มีพ่อค้าชาวมอญสอง พี่น้อง นามว่า ตผุสสะ ภัลลิกะ ได้รับพระเกศาธาตุจากพระพุทธเจ้ามาประดิษฐาน ณ เจดีย์ชเวดากอง พอราวปี ๒๕๐ ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าอโศกได้ส่ง พระโสณะเถระและพระอุตตรเถระ มาเผยแผ่พระศาสนาในหมู่ชาวมอญ ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ ต่อมาคริสต์ศตวรรษที่ ๔ พระพุทธโฆสะได้เดินทางไปยังเกาะสิงหล เพื่อคัดลอกพระไตรปิฎกเป็น อักษรมอญ ซึ่งหากศึกษารูปอักษรมอญโบราณ ก็จะพอจะเชื่อได้ว่า อักษรมอญ นั้นมีเค้ามาจากอักษรอินเดียตอนใต้ คือ อักษรปัลลวะและอักษรกทัมพะ

ในประเทศไทย เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ ๕-๖ ปรากฏศิลาจารึกมอญที่นครปฐม ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ ๗-๘ มีจารึกมอญที่ลพบุรี และในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑–๑๓ มีจารึกมอญที่ลำพูน ส่วนในประเทศพม่านั้น พบศิลาจารึกมอญในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐ ณ ถ้ำเก๊าะกูมใกล้เมืองบาอังในรัฐ กะเหรี่ยง และพบที่เจดีย์ชเวซายังในเมืองสะเทิม ส่วนศิลาจารึกมอญที่เมืองพุกาม ซึ่งพบมากที่สุดนั้นจารึกขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑ นอกจากนี้ยังพบศิลาจารึกมอญประปราย ตามเมืองต่างๆ อาทิ เจาก์แซ แปร พะโค ชเวนั่งต่าตะวันออก และสะเทิม ส่วนในยุคหงสาวดีนั้น พบศิลาจารึกมอญและจารึกบนองค์ระฆังที่พะสิม ย่างกุ้ง พะโค พุกาม สะเทิม ดอยเกลาสะ เมาะตะมะ ไจก์มะยอ และทวาย

ด้านจารึกภาษามอญ บนใบลานนั้น พบมากมายตาม หมู่บ้านมอญ ในประไทย ส่วนที่ประเทศพม่าพบมากตาม หมู่บ้านมอญในเมืองสะเทิมและเมืองไจก์ขมี ซึ่งมีการคัดลอกและรวบรวมนำมาเก็บไว้ ที่หอสมุดแห่งชาติเมืองย่างกุ้ง และที่ห้องสมุดมอญเมืองเมาะ ลำไย นอกจากนี้กองโบราณคดีและกองวัฒนธรรม ยังได้จัดพิมพ์วรรณกรรม ชาดก ตำรามอญ และเคยมีการริเริ่มจัดพิมพ์พจนานุกรมมอญ-พม่าอีกด้วย

ในด้านตัวอักษรนั้น อักษรมอญ ถือเป็นต้นแบบให้กับอักษรพม่า ตามที่พบเป็นหลักฐานจากศิลาจารึกมยะเซดี และจากการที่พระชินอรหันต์ภิกษุ มอญ ได้นำพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาเผยแผ่ ยังเมืองพุกามในสมัยพระเจ้าอโนรธานั้น จึงได้พบจารึกภาษาบาลีด้วย อักษรมอญ บนด้านหลังพระพิมพ์อีกด้วย ที่จริงในยุคนั้นก็มีอักษรพยูหรือปยูใช้เช่นกัน แต่ชาวพม่ากลับนิยมอักษรมอญ มากกว่า โดยเฉพาะตลอดสมัยของพระเจ้าจันสิตตา วรรณคดีสมัยนั้นต่างเขียนด้วย ภาษามอญ ก็ด้วยที่พระองค์มีพระอาจารย์เป็นภิกษุมอญนั่นเอง นอกจากนี้ยังพบจารึกมอญ บนแผ่นกระเบื้องเคลือบมากมายกว่า พันชิ้นที่เจดีย์อนันดา อีกทั้งพบจารึกมอญตามเจดีย์ ในเมืองพุกามหลายแห่ง อาทิ มยีง-ปยะ อะแปรัตนา ผยะซะชเว โลกะเทะปัน ปะโทตา-มยา นคาโยง คู-ปเย่าจี และอโล-ปยิ

ในสมัยจันสิตตานั้น ไม่พบจารึกภาษาพม่าเลย จนในปี ค.ศ. ๑๑๑๒ ราชบุตรของพระองค์ นามว่า ราชกุมาร ได้ทำจารึกมยะเซดีเป็นภาษาพม่า แล้ววรรณคดีภาษาพม่า ก็ค่อยๆรุ่งเรืองเรื่อยมา จนในสมัยพระเจ้านรปติ ภาษามอญ ก็เสื่อมความนิยม จนถึงสมัยหงสาวดี วรรณคดีมอญกลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง โดยเฉพาะในสมัยของพระนางชินซอปุ และพระเจ้าธรรมเซดี แต่ในที่สุด วรรณคดีมอญ ก็มีอันต้องเสื่อมลงอีก หลังจากที่มอญพ่ายแพ้ต่อพม่า ในยุคของพระเจ้าอลองพญา

ในด้านประวัติศาสตร์การสร้างอาณาจักรของชนชาติมอญนั้น อาจจำแนกตามวงศ์กษัตริย์ได้ ๓ ยุค ยุคแรกคือยุคราชวงศ์สะเทิม-สุธรรมวดี มีกษัตริย์ปกครอง ๕๗ พระองค์ เริ่มจากสมัยพระเจ้าสีหราชา มาจนถึงสมัยพระเจ้ามนูหา เชื่อว่ายุคนี้ครอบครองพื้นที่ได้ ทั้งอาณาจักรทวารวดีและอาณาจักรสะเทิม ยุคแรกสิ้นสุดลงด้วยพระเจ้าอโนรธาแห่งพุกาม ยกทัพมาตีเมืองสะเทิมในสมัยพระเจ้ามนูหา ซึ่งนักประวัติศาสตร์ไทยบางท่านเชื่อว่าพระเจ้าอโนรธาน่าจะยกมาตีถึงนครปฐม

ยุคที่สอง เป็นยุคราชวงศ์พะโค-หงสาวดี มีกษัตริย์ปกครอง ๑๗ พระองค์ องค์แรกๆคือ พระเจ้าสมละและพระเจ้าวิมละ และสิ้นสุดในสมัยพระเจ้าติสสะ ส่วนยุคที่ ๓ คือยุคราชวงศ์เมาะตะมะ-พะโค เริ่มจากสมัยพระเจ้าวารีรู หรือพระเจ้าฟ้ารั่ว พระองค์มีมเหสีเป็นราชธิดาของกษัตริย์ไทย ต่อมาในสมัยพญาอู ได้ย้ายราชธานีมาอยู่ ณ เมืองพะโคหรือหงสาวดี ราชบุตรของพระองค์คือพญาน้อย ซึ่งต่อมาก็คือพระเจ้าราชาธิราช ผู้ทำสงครามยาวนานกับกษัตริย์พม่าในสมัยพระเจ้าซวาส่อแก กับพระเจ้ามีงคอง ขุนพลสำคัญของพระเจ้าราชาธิราช ก็คือ สมิงพระราม ละกูนเอง และแอมูน-ทยา กษัตริย์องค์สุดท้ายของมอญคือ พระเจ้าพยะมองธิราช ซึ่งพระเจ้าอลองพยาปราบมอญ จนพ่ายในปี ค.ศ. ๑๗๕๗

พม่ามองว่าชาวมอญและชาวพม่านั้น มีความสัมพันธ์กันมานานนับแต่ สมัยพุกามเรื่อยมา จึงมีความเกี่ยวดองมาตลอด และแม้ว่า มอญ กับพม่าจะพูดต่างภาษากันก็ตาม แต่ต่างก็มีเชื้อสายมองโกลอยด์เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ชาวมอญรุ่นหลังหันมาใช้ภาษาพม่ากันมาก และมีจำนวนมากที่เลิกใช้ ภาษามอญ จนคิดว่าตนเป็นพม่า อีกทั้งไม่ทราบว่า ตนมีเชื้อสายมอญ จากการสำรวจประชากรมอญในปี ค.ศ. ๑๙๓๑ พบว่ามีจำนวนแค่ ๓ แสน ๕ หมื่นคน ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๓๙ ได้มีการก่อตั้งสมาคมชาวมอญ และมีการสำรวจประชากรมอญอีกครั้ง พบว่ามีราว ๖ แสนกว่าคน พอต้นสมัยสังคมนิยมสำรวจได้ว่ามีชาวมอญราว ๑ ล้านกว่า ในปัจจุบัน หากต้องการพบชาวมอญ ที่ยังพูดภาษามอญในชีวิตประจำวันอยู่ ก็ต้องไปเยือนหมู่บ้านต่างๆในเมืองไจก์ขมี และเมืองสะเทิม กระนั้นในเขตเมือง ก็จะพบแต่ชาวมอญที่พูดภาษาพม่าเป็นส่วนมาก

Ref. >> วิรัช นิยมธรรม. ข้อเขียนของนายปันหละ. (2509). สารานุกรมพม่า. (ฉบับที่ 10). สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.openbase.in.th/node/9784



Ref. >> คลังเอกสารสาธารณะ Openbase.in.th และศูนย์พม่าศึกษา. (2552). ประวัติศาสตร์มอญ-มอญ ต้นตออารยธรรมอุษาคเนย์. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.openbase.in.th/node/9784

ความคิดเห็น

คนชอบอ่านสิ่งนี้