ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความแนะนำ

เที่ยวพม่าเมืองพญาตองซู ในราคาหลักร้อย ที่สังขละบุรี

นักท่องเที่ยวสามารถทำใบผ่านแดนเข้าไปในพม่าได้ภายใน 1 วัน เพื่อเข้าไปชมเมืองพญาตองซูในประเทศพม่า ที่ห่างจากบริเวณด่านไปเพียง 3 กิโลเมตร สำหรับราคาแพ็คเก็จทัวร์นั้น 200-400 บาท แล้วแต่บริษัททัวร์ สังเกตุซุ้มทัวร์ต่าง ๆ ที่อยู่บริเวณลานจอดรถ ซื้อตั๋วครั้งเดียว เที่ยวได้จนครบโปรแกรม วัดเสาร้อยต้น สร้างเป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี 3 ชั้น ชั้นบนสุดห้ามผู้หญิงขึ้นไป วัดนี้หลวงพ่ออุตตมะเคยสร้างไว้ และเคยจำพรรษาที่นี่ เป็นวัดที่ใช้เสาทั้งต้น จากไม้แดง จำนวนมากถึง 105 ต้น สามารถเข้าไปสักการะพระประธานได้ บริเวณด้านหลังวัด เราจะเจอกับกำแพงพระยืน เป็นพระพุทธรูปประทับบนดอกบัว พร้อมพระอรหันต์จำนวน 120 รูป ยืนเป็นแนวทอดยาวไปยังภูเขา มีความตั้งใจจากท่านเจ้าอาวาสว่าจะสร้างให้ถึง 500 รูปทีเดียว วัดเจดีย์ทอง หรือวัดทองคำ ตั้งอยู่บนเนินเขา ไม่ห่างจากวัดเสาร้อยต้น สามารถขับรถขึ้นไปถึงบริเวณเจดีย์ได้ องค์เจดีย์มีขนาดไม่ใหญ่มาก สีทองอร่าม ฐานทรงเหลี่ยม ด้านบนทรงระฆัง รูปทรงคล้ายกับเจดีย์ชเวดากอง รอบองค์เจดีย์มีซุ้มประดิษฐานพระพม่า จุดนี้เป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นเมืองพญาตองซู และฝั่งไทย พระพุทธไสยาสน์เจ

กิจกรรมที่ 8 เรียนรู้วิถีชีวิต และการทำไม้กวาดดอกหญ้าบ้านห้วยกบ


บ้านห้วยกบ และบ้านซองกาเรีย อยู่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำซองกาเรีย ที่มีสะพานข้าม ก่อนไปถึงด่านเจดีย์สามองค์ จุดเด่นของหมู่บ้านคือ จะมีอาชีพทำไม้กวาดดอกหญ้า ว่ากันว่าใครผ่านไปผ่านมาจะต้องจับจ่ายไว้เป็นของใช้ประจำบ้าน เพราะไม้กวาดดอกหญ้าบ้านห้วยกบ มีความคงทนแข็งแรง และที่สำคัญ ชาวบ้านทำด้วยมือจริง ๆ สามารถขับรถเข้าไปพูดคุย หรือจะลองทำดูก็ได้นะครับ ชาวบ้านเป็นมิตรและเวลคัมนักท่องเที่ยวเสมอ

จากจุดนี้สามารถแวะไปนั่งเล่นริมน้ำซองกาเรีย หรือจะลงเล่นน้ำใส ๆ ก็ได้อีกเช่นกัน


เวลาที่เราเดินทางไปสังขละบุรี เส้นที่จะไปด่านเจดีย์สามองค์ เราจะสังเกตุเห็นไม้กวาดดอกหญ้าวางเรียงรายเต็มข้างทาง แต่เราก็คงจะไม่รู้ใช่ไหมครับว่า วิธีการทำนั้น เขาทำกันเช่นไร  ในมิติของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จะทำให้เราได้เข้าถึง และเข้าใจวิถีชีวิตชาวบ้านได้มากขึ้น จับต้องได้มากขึ้น แค่เพียงเราเปิดใจและลองเข้าไปดูครับ 

หมู่บ้านห้วยกบ ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี จะเป็นแหล่งรวมของกลุ่มหลากหลายชาติพันธุ์ ที่ส่วนใหญ่เป็นกะเหรี่ยงและมอญ ซึ่งกลุ่มคนหล่านี้มีอาชีพหลักคือรับจ้างทั่วไป ทำให้มีรายได้ไม่แน่นอน แต่หลังจากหน่วยราชการในพื้นที่และมูลนิธิพัฒนรักษ์เข้ามาดูแลส่งเสริมการทำไม้กวาดจากดอกหญ้า ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เสริมมากขึ้น เพราะดอกหญ้าก็เป็นพืชที่มีในท้องถิ่น ไม่ต้องสั่งซื้อวัตถุดิบจากที่อื่น เมื่อเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อชุมชน จึงส่งต่อความรู้กันจนสามารถทำกันได้ทั้งหมู่บ้าน และสามารถถ่ายทอดให้นักท่องเที่ยวรับชม หรือจะทดลองทำได้อีกด้วย ถือเป็นกิจกรรมเสริมทางการท่องเที่ยวที่ดี เพียงแต่ปัจจุบัน การเข้าถึง หรือการให้ความสนใจของนักท่องเที่ยวมีน้อย ส่วนมากก็จะจอดแวะซื้อริมทาง แล้วก็ผ่านไปเท่านั้น ทำให้องค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ยังไ่ม่สมบูรณ์เท่าที่ควร 

------------------------------

เว็บไซต์ของเราจึงมุ่งเน้นส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน มากกว่าการเที่ยวตามกระแสนิยม ไปในสถานที่สวยงาม เพื่อเซลฟีลงโซเชียลมีเดียเท่านั้น การได้สัมผัสวิถีชีวิตชุมชน และชาวบ้าน จะทำให้เราได้ความสุขอีกรูปแบบหนึ่ง อยากให้ลองทำกันดูนะครับ


สำหรับอุปกรณ์ในการผลิตนั้น ประกอบด้วย 1.เข็ม กรรไกร ค้อน ตะปู 2.น้ำมันชัน 3.เชือกฟาง 4.ไม้ไผ่ ความยาวประมาณ 80 ซม. 5.ดอกหญ้า และ6.ตะปูขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 ตัว ส่วนขั้นตอนการทำ เริ่มจากการนำดอกหญ้ามาทำความสะอาดและตากแดดให้แห้งคัดเลือกเฉพาะดอกหญ้าที่มีคุณภาพดี โดยทุบดอกสีขาวออกให้หมดเหลือแต่ก้าน จากนั้นนำดอกหญ้าปริมาณ 1 กำมือ มัดให้เป็นวงกลม แล้วนำเข็มเย็บกระสอบ ซึ่งร้อยเชือกฟางไว้แล้ว แทงเข้าตรงกลางมัดดอกหญ้าแล้วถักขึ้นลงแบบหางปลาให้ได้ 3 ชั้น
พร้อมกันนั้นจัดดอกหญ้าให้มีลักษณะแบน ตัดโคนดอกหญ้าให้เสมอกัน จากนั้นนำด้ามไม้ไผ่เจาะรูที่หัวไว้สำหรับห้อยเชือกและเจาะรูตรงปลายนำมาขัดด้วยก้อนจากนั้นเสียบเข้าตรงกลางมัดดอกหญ้าต่อมาให้นำเชือกฟางมัดดอกหญ้าไว้ด้วยกัน โดยนำเชือกฟางมาสอดตรงรูที่เจาะ เพื่อป้องกันไม่ให้ดอกหญ้าออกจากกัน แล้วตอกตะปูที่เตรียมไว้ เพื่อให้ดอกหญ้าติดกับด้ามไม้ไผ่ และมีความแข็งแรงขึ้น

"เป็นดอกหญ้าที่มีอยู่ในธรรมชาติ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในพื้นที่ โดยจะออกดอกในช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี ในช่วงนี่ชาวบ้านก็จะไปตัดมาเก็บไว้ มีอายุการใช้งานประมาณ 2 ปี แต่ที่นี่จะเก็บไว้ใช้ปีต่อปี แต่ละปีจะตัดดอกหญ้าเก็บไว้ประมาณ 17 ตัน ทำให้ในหมู่ลบ้านห้วยกบจะมีการทำไม้กวาดดอกหญ้าตลอดทั้งปี" (บทความข่าวจาก คมชัดลึก) 


ความคิดเห็น

คนชอบอ่านสิ่งนี้