ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความแนะนำ

เที่ยวพม่าเมืองพญาตองซู ในราคาหลักร้อย ที่สังขละบุรี

นักท่องเที่ยวสามารถทำใบผ่านแดนเข้าไปในพม่าได้ภายใน 1 วัน เพื่อเข้าไปชมเมืองพญาตองซูในประเทศพม่า ที่ห่างจากบริเวณด่านไปเพียง 3 กิโลเมตร สำหรับราคาแพ็คเก็จทัวร์นั้น 200-400 บาท แล้วแต่บริษัททัวร์ สังเกตุซุ้มทัวร์ต่าง ๆ ที่อยู่บริเวณลานจอดรถ ซื้อตั๋วครั้งเดียว เที่ยวได้จนครบโปรแกรม วัดเสาร้อยต้น สร้างเป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี 3 ชั้น ชั้นบนสุดห้ามผู้หญิงขึ้นไป วัดนี้หลวงพ่ออุตตมะเคยสร้างไว้ และเคยจำพรรษาที่นี่ เป็นวัดที่ใช้เสาทั้งต้น จากไม้แดง จำนวนมากถึง 105 ต้น สามารถเข้าไปสักการะพระประธานได้ บริเวณด้านหลังวัด เราจะเจอกับกำแพงพระยืน เป็นพระพุทธรูปประทับบนดอกบัว พร้อมพระอรหันต์จำนวน 120 รูป ยืนเป็นแนวทอดยาวไปยังภูเขา มีความตั้งใจจากท่านเจ้าอาวาสว่าจะสร้างให้ถึง 500 รูปทีเดียว วัดเจดีย์ทอง หรือวัดทองคำ ตั้งอยู่บนเนินเขา ไม่ห่างจากวัดเสาร้อยต้น สามารถขับรถขึ้นไปถึงบริเวณเจดีย์ได้ องค์เจดีย์มีขนาดไม่ใหญ่มาก สีทองอร่าม ฐานทรงเหลี่ยม ด้านบนทรงระฆัง รูปทรงคล้ายกับเจดีย์ชเวดากอง รอบองค์เจดีย์มีซุ้มประดิษฐานพระพม่า จุดนี้เป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นเมืองพญาตองซู และฝั่งไทย พระพุทธไสยาสน์เจ

กิจกรรมที่ 3 รับรู้ประวัติศาสตร์ชนชาติกะเหรี่ยง



ก่อนมาเป็นสังขละบุรี
เมื่อแรกเริ่มเมืองสังขละบุรี ก่อนปี พ.ศ. 2126 หัวหน้ากะเหรี่ยงชื่อภู่เซิงล่ะ อพยพไพร่พลจำนวนหนึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนเล็ก ๆ ประมาณ 35 หลังคาเรือน อยุ่บริเวณพื้นที่ศักดิ์สิทธ์ "ทุผุงทิซวยโว่" แถบลำน้ำซองกาเลีย แถบลำน้ำซองกาเลีย (สังขละ : จึงน่าจะตั้งขึ้นตามชื่อของสายน้ำดังกล่าวที่คนกะเหรี่ยงเรียกว่า "ซุงเขอะเลีย" อันเป็นชัยภูมิในช่องเขาของเทือกเขาตะนาวศรี ที่อยู่ระหว่างดินแดน 2 อาณาจักร คือ พม่า และ ไทย ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี ราว พ.ศ. 2317 อาณาเขตการปกครองของชุมชนสังขละ ได้มีขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากมีพลเมืองจากพม่าอพยพเข้ามาหลายเผ่าพันธุ์ เช่น กะเหรี่ยงโพล่ง ซึ่งถือเป็นชนส่วนใหญ่ ชาวมอญ ละว้า แขกมัว และชาวตองสู

ครั้นต่อมา เมื่อสิ้นสมัยของภู่เซิงล่ะแล้ว "ภู่วะโพ่" บุตรชายหัวปี ก็ได้ตั้งมั่นไพร่พลเมือง ข้าราชบริวาร ขึ้นปกครองสังขละบุรี เป็นเมืองประเทศราช ขึ้นอยุ่กับเมืองใหญ่แห่งสยามประเทศ


จนล่วงสู่สมัย กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สังขละบุรีที่เติบโตขึ้น ได้ย้ายมาตั้งที่บ้านสะเน่พ่อง และมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่าน ขึ้นอยุ่กับเมืองกาญจนบุรี เนื่องจากมีที่ตั้งอยุ่ติดต่อกับเขตแดนของพม่า ดังนั้น บทบาทอันโดดเด่นของเมืองสังขละบุรีในยุคนั้น คือการเป็นกองกำลังป้องกันการรุกรานจากพม่า ด้านชายแดนตะวันตกของไทย ครั้นในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยุ่หัว (รัชการที่ 3) เมื่อหมดการคุกคามจากพม่าแล้ว ภู่วะโพ่ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น "ขุนสุวรรณคีรี" และต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์สูงสุดเป็นพระยาศรีสุวรรณคีรี ปกครองเมืองสังขละบุรีสืบต่อมา และมีทายาทสืบทอดตำแหน่งพระศรีสุวรรณคีรีอีก 4 คน จนถึงยุคสมัยของพระศรีสุวรรณคีรี (ทะเจียงโปรย) เมืองสังขละบุรีคราวนั้น คับคั่งไปด้วยผุ้คนที่ร่วมอยุ่ และผู้สัญจรไปมาค้าขาย สมกับเป็นเมืองท่าแพโดยแท้


ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครอง ตามระเบียบใหม่ ร.ศ.114 สังขละบุรีได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ และย้ายมาอยู่ที่ตำบลวังกะ ซึ่งมีชัยภูมิอันเหมาะสมหลายประการ ในระหว่างนี้ พระศรีสุวรรณคีรี (ทะเจียงโปรย) ได้สร้างอาคารชั่วคราวอยู่เป็นที่ทำการระยะหนึ่ง ปี พ.ศ.2540 อำเภอสังขละบุรี ได้ย้ายที่ตั้งใหม่ไปยังบริเวณสามประสบ (เมืองท่าขนุน และลดฐานะลงเป็นกิ่งอำเภอ จนกระทั่งปี พ.ศ.2508 จึงได้ปรับขึ้นเป็นอำเภอสังขละบุรีอีกครั้ง และดำรงอยู่จนเมื่อมีโครงการสร้างเขื่อนวชิราลงกรณ์ ปี พ.ศ.2527 การย้ายเมืองครั้งใหญ่จึงเกิดขึ้นอีกหน บนพื้นที่เหนือทะเลสาบของเขื่อนฯ (ที่ตั้งปัจจุบัน) และเมื่อเขื่อนฯ เริ่มกักเก็บน้ำ สภาพของเมืองสังขละบุรีเดิมก็กลายเป็นตำนานให้เล่าขาน ในฐานะของเมืองใต้บาดาลสืบมา


วัฒนธรรมภาษา
จากประวัติศาสตร์แห่งชนชาติกะเหรี่ยง ที่ล่วงแล้วกว่า 100 ปี เมื่อครั้งร่วมแป่นดินกับมอญ ในยุคสมัยที่มอญรุ่งเรืองมีแผ่นดินอยู่เป็ฯของตนเอง และพยายามกีดกันมิให้กะเหรี่ยงได้เรียนรู้ภาษาหนังสือ ปราชญ์ชาวกะเหรี่ยงนามว่า พู๋ดั่ยโก่ ซึ่งทำงานอยู่ในราชสำนักของมอญ จึงใช้วิธีครูพักลักจำ เรียนรู้ภาษาหนังสือมอญ แล้วนำมาดัดแปลงเป็นภาษาเขียนของตนเอง เรียกว่า ภาษาไล่เต่อหละญา ในกาลต่อมา ที่พม่ากล้าแข็งเติบใหญ่แย่งชิงแผ่นดินของมอญไป และเมื่อขึ้นปกครองทั้งชนชาติมอญ และกะเหรี่ยง ชนพม่าก็ยังคงกีดกันมิให้คนกะเหรี่ยงได้ศึกษาเรียนรู้อยู่เช่นเดิม

ในยุคสมัยเมื่อประมาณ 200 ปี ที่ผ่านมา รูปแบบของภาษาจึงได้รับการปรับปรุงใหม่อีกครั้ง โดยปราชญ์ชาวมอญ และปราชญ์ชาวกะเหรี่ยงที่ชื่อ พู่ต่ามั่ย กับ พู่เสาะเลียะ โดยช่วยกันประดิษฐ์คิดค้นตัวหนังสือ ที่ใช้อักษรมอญเป็นบรรทัดฐาน แต่คำสำเนียง และความหมาย ยังคงไว้ซึ่งความเป็นกะเหรี่ยง คือภาษาไล่ช่องวิ และภาษาไล่ทิย่ง แต่การสืบใช้จนแพร่หลายมากที่สุดคือภาษาไล่เต่อหล่ะญา และไล่ทิย่ง เท่านั้น


ความเชื่อ ศาสนา ประเพณี
จากความเชื่อดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยง มีความผสมผสานระหว่างกันถึง 3 ลักษณะ คือ ความเชื่อในเรื่องผีและธรรมชาติ เชื่อในคำสอนของฤษี ความเชื่อในพุทธศาสนา หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ดังนั้น วิธีคิดแบบกะเหรี่ยง ในวิถีวัฒนธรรมที่ดำเนิน จึงดูเหมือนว่ามิได้แยกธรรมชาติออกจากสิ่งคุ้มครองธรรมชาติ เพราะเชื่อว่าในความเป็นจริงแล้ว มันเป็นสิ่งเดียวกัน เพียงปรากฎอยู่คนละมิติ เช่น แผ่นดินที่มีอยู่นั้น เกิดจากการคุ้มครองของ ซ่งธะรี เทพองค์แรกที่สำคัญ และได้รับความเคารพอย่างสูงจากชนกะเหรี่ยง เพราะตำนานหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งเจ้าชายสิทธัตถะออกบวชนั้น เทพซ่งธะรี ได้ช่วยให้เกิดปรากฎการณ์แผ่นดินแยก และสูงขึ้น เพื่อเป็นอุปสรรคต่อการติดตามของพระมเหสี ดังนั้น ซ่งธะรี จึงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่เกื้อกูลให้พุทธศาสนาถือกำเนิดขึ้นได้ ความเคารพในผืนแผ่นดิน ได้สะท้อนอยู่ในวิถีชีวิต และสืบทอดปฏิบัติมาอย่างแนบแน่น เช่นพิธีบอกกล่าวเจ้าธรณีในการเลือกพื้นที่ทำไร่ เป็นต้น ... และจากข้อจำกัดเมื่อครั้งประวัติศาสตร์ ที่ชนกะเหรี่ยงได้ต่อสู่เพื่อหาโมกขธรรม เป็นธงนำในการดำเนินชีวิต กำเนิดพือไจ้ย ที่หมายถึงสิ่งอันควรสักการะสูงสุด จึงเกิดขึ้น อันคือที่มาของพระฤษี และรากเหง้าทางความคิดพื้นฐานของลัทธิฤษีก็คือพุทธศาสนา เพียงแต่ต้องประยุกต์เข้ากับสภาพแวดล้อมการดำรงอยู่ของชาวกะเหรี่ยงตั้งแต่เดิมนั่นเอง ซึ่งแม้เจ้าเมืองที่เป็นผู้นำทั้งทางการปกครอง และวัฒนธรรม ที่ได้รับการเคารพนับถือนั้น ล้วนแต่เป็นลูกศิษย์ของฤษี ผู้นำบางคนได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความมีประวัติสาสตร์ร่วมกันกับชุมชนชาวกะเหรี่ยง เช่น พระศรีสุวรรณคีรี เจ้าเมืองสังขละบุรีในครั้งอดีต


ความสืบเนื่องจากความเชื่อและศรัทธาในหลักธรรมคำสอนของศาสนา นำมาซึ่งความละอายชั่ว กลัวบาป อย่างเคร่งครัด จนเชื่อว่า หากมีบาปหนักแล้ว จะทำให้เกิดไม่ทันพระศรีอาริย์ ดังนั้น หลักการสำคัญอันเกิดจากภูมิปัญญาของการดำรงอยู่ ที่บรรพบุรุษพร่ำบอกเอาไว้อย่างห่วงใย คือการไม่ให้เกิดความโลภหลง และคอยระวังตนมิให้ผิดไปจากทำนองครองธรรมที่ควรจะอยู่ จะเป็น จนถือว่า มโนทัศน์ดังกล่าว ได้กลายเป็นวัตรปฏิบัติสืบมา ซึ่้งสามารถกล่าวได้เป็น 3 ส่วน คือ

1. ราชาวัตร อันหมายถึง การปฏิบัติตนที่เป็นแบบอย่างที่ดีของผู้นำ ทั้งทางด้านการปกครอง และวัฒนธรรม
2. ธรรมวัตร ซึ่งหมายถึงจารีต ประเพณี ที่ยึดถือปฏิบัติร่วมกัน อันอยู่ในกรอบของศีลธรรมจรรยาที่ดี
3. โลกาวัตร ซึ่งหมายถึงวัฒนธรรม วิถีที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน อันประกอบด้วยความรู้ และภูมิปัญญา ที่นำมาซึ่งความไม่โลภหลง จนสร้างความสูญเสียต่อระบบนิเวศน์ของธรรมชาติ
วิถีข้าฯ ภูมิปัญญาบรรพชน



คนกะเหรี่ยง มักเปรียบเปรยตนเองเป็นคนบ้านป่า อาศัยอยู่กับธรรมชาติ พึ่งพาป่าไม้ต่างไปจากลิง ค่าง ชุมชนชาวกะเหรี่ยง แม้ไม่มีความสะดวกสบายทางด้านวัตถุ แต่ถือว่ามีความเจริญทางด้านจิตใจ เพราะเน้น และตระหนักในบาปบุญคุณโทษ การมีคุณธรรม เคารพในธรรมชาติ และสรรพสิ่งที่อยู่รอบตัว พร้อม ๆ กับการเรียนรู้ เพราะเชื่อว่า ต้นไม้, สายน้ำ, ภูเขา, แผ่นดิน, แผ่นฟ้า ต่างเป็นครูให้กับมนุษย์ และไม่อาจแยกย้ายความสัมพันธ์จากกันได้ คนกะเหรี่ยงเห็นว่า ความยากลำบากในการดำรงชีวิต ความไม่สะดวกสบายทางกายนั้น ไม่ได้มีความหมายว่าไม่เจิรญ เพราะสำหรับกะเหรี่ยงแล้ว การมีข้าวพอกิน มีธรรมชาติคุ้มครอง คนในชุมชนยึดมั่นคุณธรรม "เพียงเท่านี้ ... ก็ถือเป็นสังคมอันสมบูรณ์แล้ว"



ปริศนาคำเตือน จากบรรพชนชาวกะเหรี่ยง
ตำนานคำเตือนคำสอนของคนกะเหรี่ยงในป่าทุ่งใหญ่ฯ ที่สืบทอดมาหลายชั่วอายุคน เพื่อบอกกล่าวให้ลูกหลานของตนพึงระวังอันตรายสี่ประการคือ

1. งูใหญ่เลื้อยผ่านหมู่บ้าน
2. เสาบ้านออกดอก
3. ม้ามีเขา
4. คนเสียงดังเข้าหมู่บ้าน

... ปราชญ์ชาวกะเหรี่ยงได้ตีความหมายของปริศนาดังกล่าวไว้ว่า งูใหญ่ หมายถึงถนน คือเหตุที่จะนำมาซึ่งความแหลกราญของธรรมชาติ เสาบ้านออกดอก หมายถึง หลอดไฟฟ้าที่ติดอยู่กับเสาเรือน ม้ามีเขา หมายถึงรถจักรยานยนต์ คนเสียงดังเข้าหมู่บ้าน หมายถึงรถเร่ขายของที่ติดเครื่องเสียง ... เหตุเพราะสิ่งเหล่านี้ มันคือสัญลักษณ์ของความเจริญ ภาพลักษณ์ของความทันสมัย ที่จะคอยบ่อนทำลายทุกสิ่งทุกอย่างของคน กะเหรี่ยงจนหมดสิ้น ไม่ว่าจะเป็นศีลธรรมและวัฒนธรรมความเชื่อ ประเพณีต่าง ๆ ตลอดจนแหล่งของอาหารอันอุดมสมบูรณ์ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมรอบกาย

ความคิดเห็น

คนชอบอ่านสิ่งนี้